การวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข

หัวหน้าโครงการวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.รักศักดิ์  รักษาเคน

ผู้ร่วมวิจัย

นางสกุลจิตร  วิเชียรโชติ

รายละเอียดงานวิจัย

 โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข เป็นปัญหาที่สำคัญของสุนัขในประเทศไทย เนื่องจากทำให้สุนัขเกิดการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลันและเรื้อรังและสามารถติดต่อไปยังสุนัขตัวอื่นได้ง่ายผ่านทางเห็บ นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดต่อผ่านการถ่ายเลือดได้ เชื้อก่อโรคที่สำคัญมีหลายชนิด ได้แก่ Babesia canis, Hepatozoon canis, Ehrlichia canis และ Anaplasma platys ซึ่งมีการระบาดมากในทุกภาคของประเทศไทย แม้สุนัขส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะเกิดอาการแบบไม่รุนแรง แต่การติดพยาธิเม็ดเลือดร่วมกันหลายชนิด หรือในบางกรณีสามารถทำให้สุนัขเสียชีวิตได้ การตรวจวินิจฉัยโดยวิธีการเสมียร์เลือดแบบปกตินั้นมีความไวต่ำ ทำให้หลายครั้งตรวจไม่เจอเชื้อ ดังนั้นทางผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาและพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิในเม็ดเลือดสุนัขชนิด Babesia canis, Hepatozoon canis, Ehrlichia canis และ Anaplasma platys โดยมีความมุ่งหวังเพื่อพัฒนาวิธีการตรวจให้มีความไว ความจำเพาะสูง และตรวจได้ง่าย รวดเร็ว เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้จริงทางคลินิก และเป็นประโยชน์ในการควบคุมป้องกันโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข