อุปกรณ์กายภาพบําบัดสําหรับสุนัขที่มีปัญหาเกี่ยวกับขาหลัง (Physical Therapy equipment for hind legs problems in dogs)

ผู้ประดิษฐ์

  1. นางสาวสินิทธา ทองวันดี
  2. นางสาวกาญติมา ชูยัง
  3. นางสาวฐิภาพร ธีระชยกรกาญจน์
  4. นางสาวพรพิสุทธิ์ วสุธีวรรณ์ 
  5. นางสาวหทัยรัตน์ ดําจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยณรงค์ สกุลแถว

ที่มา/ความสําคัญ

จากสถิติการเกิดโรคที่ข้อในสุนัขพบว่า ในสุนัขโตเต็มวัยสามารถพบได้เป็นร้อยละ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น ลาบราดอร์รีทริฟเวอร์ โกลเดนรีทริฟเวอร์ และไซบีเรียน ฮักกี้ ซึ่งสามารถพบได้สูงถึงร้อยละ 75 ถึง 90 (กรกฏ งามวงศ์ พาณิชย์, 2556) โดยสุนัขเป็นสัตว์ที่มีความกระตือรือร้น และมีการทํากิจกรรมสูง นํามาซึ่งอาการบาดเจ็บที่ขาหลังจาก อุบัติเหตุ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นในสุนัขได้ง่ายกว่าสัตว์ชนิดอื่น ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงตาม อายุ โรคทางพันธุกรรม หรือเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น การโดนรถชน การโดนสุนัขกัด หรือแม้กระทั่งการตกจากที่สูง ซึ่งถ้าเกิด อาการบาดเจ็บแล้วไม่ได้รับการรักษา จะเหนี่ยวนําให้เกิดปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดแผลกดทับ กล้ามเนื้อได้รับความเสียหายไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ ข้อและกระดูกที่เสียหายไม่สามารถประสานกันได้อย่างสมบูรณ์ และ อาจส่งผลต่อสภาวะจิตใจของสุนัขที่ไม่สามารถทํากิจกรรมปกติตามธรรมชาติของสุนัขได้

การศึกษาครั้งนี้จึงได้ออกแบบเครื่องทํากายภาพบําบัด เพื่อช่วยให้สุนัขเหล่านั้นได้รับการกายภาพบําบัด เพื่อฟื้นฟู ร่างกายและกล้ามเนื้อ โดยใช้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทํากายภาพบําบัดในโรงพยาบาลสัตว์และคลินิกรักษาสัตว์ทั่วไปมา ออกแบบชิ้นงานให้มีประสิทธิภาพในการกายภาพบําบัดมากขึ้น มีการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สะดวกต่อการจับบังคับสัตว์ เพื่อ ลดความเครียดอันเนื่องมาจากการจับบังคับ เพราะในสัตว์ที่ได้รับการบาดเจ็บมักจะไม่ยอมรับการกายภาพบําบัด เนื่องจาก เกิดอาการเครียดจากการจับบังคับ และมีส่วนช่วยในการทรงตัวของสัตว์ขณะการทํากายภาพบําบัดอีกด้วย จนทําให้สัตว์ สามารถกลับมาช่วยเหลือตัวเองหรือเดินได้ตามปกติ

คุณสมบัติ

เครื่องกายภาพบําบัดต้นแบบสามารถช่วยให้สุนัขที่มีปัญหาเกี่ยวกับขาหลังกลับมาฟื้นฟูได้ดีขึ้น เจ้าของสุนัขที่มีปัญหาขาหลังสามารถช่วยทํากายภาพบําบัดให้กับสัตว์ได้ด้วยตัวเอง

ส่วนประกอบหลัก

 อะลูมิเนียม และล้อ hand wheel

กระบวนการผลิต

  1. ออกแบบโครงสร้างอุปกรณ์กายภาพบําบัดในสุนัขที่มีปัญหาเกี่ยวกับขาหลังโดยคํานึงถึงสรีระของสุนัข โดยจะใช้วัสดุที่สามารถรับน้ําหนักตัวสุนัขที่ไม่เกิน 35 กิโลกรัม เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นต้น นอกจากนี้ตัวโครงสร้างจะสามารถปรับขนาดตามแนวกว้างได้ เพื่อรองรับสรีระที่ต่างกันของสุนัข
  2. ออกแบบอุปกรณ์กายภาพบําบัดที่ช่วยในการจับบังคับสุนัข เพื่อให้ง่ายต่อการกายภาพบําบัด โดยจะใช้วัสดุที่มีความอ่อนนุ่มเพื่อลดการเสียดสีกับผิวของสุนัขขณะจับบังคับ เช่น ผ้า ฟองน้ํา เป็นต้น
  3. ออกแบบส่วนล้อในการใช้กายภาพบําบัด โดยล้อจะใช้ล้อชนิดที่มีด้ามจับ (hand wheel) เพื่อให้เจ้าของสุนัขหรือนักกายภาพบําบัดหมุนส่งแรงในการขยับ ขาของสุนัข

โปสเตอร์ผลงาน